top of page

DRIPPER & SERVER

ซื้อของออนไลน์กับเรา รวดเร็ว ปลอดภัย ถึงหน้าประตูบ้านแน่นอน! หยิบเข้าตะกร้าได้เลย!

วิธีเลือก Dripper ให้เหมาะกับคุณ

Dripper

Dripper ที่แตกต่างกันก็จะส่งผลต่อการสกัดไม่เหมือนกัน ไม่ว่าจะเป็นเรื่องของวัสดุ ขนาด หรือรูปทรงที่แตกต่าง ดังนั้นเราจะเลือกซื้อ Dripper อย่างไร?  แล้วอะไรคือสิ่งที่ดีที่สุด?

เรามาพูดเกี่ยวกับปัจจัยสำคัญกันดีกว่าครับ

1) รูปทรงDripper นั้นมีหลากหลายแบบ ผมขอเริ่มจากรูปทรงที่เป็นที่นิยมที่สุดคือ

1.1 )Dripper แบบทรงกรวย V60

จะมีรูใหญ่ 1 รูตรงกลาง มีความชัญของวัสดุอยู่ที่ 60 องศา และ มีเกลียวอยู่ด้านในทำให้น้ำไหลผ่านกาแฟได้ดีขึ้น Dripper แบบ V60 จะมี Flowrate หรืออัตราการไหลที่ค่อนข้างเร็วเนื่องจากมีขนาดรูที่ใหญ่ ซึ่งต้องใช้ทักษะในการสกัดเพื่อควบคุมการสกัดให้สม่ำเสมอและให้น้ำไม่ไหลเร็วจนเกินไป V60เป็นที่นิยมสำหรับมือดริปเนื่องจากว่ามีลูกเล่นเยอะในเรื่องของรสชาติ สามารถสกัดกาแฟให้มีความเข้มข้นได้เนื้อสัมผัสแน่นๆ หรือจะไปทางJuicy หรือ silky ดื่มง่ายๆก็ทำได้

ข้อดี V60

- สกัดได้หลากหลาย

- ต้นทุนกระดาษไม่แพง

- หาซื้อกระดาษได้ง่าย

- Dripper มีหลายวัสดุ หลายสี ให้เลือก

ข้อเสีย V60

- หากไม่ชำนานการควบคุมการสกัดจะไม่นิ่ง (สกัดได้ไม่เหมือนกันในแต่ละครั้งที่ชง)

1.2) Dripper ทรงกรวยก้นตัดแบบเส้นตรง Malitta

จะมีทั้งแบบ 1รูไปจนถึง 3 รู ซึ่งจำนวนรูเป็นตัวกำหนด Flowrate ให้น้ำไหลเร็วหรือช้า การที่มีรูเล็กเพียง 1 รู อาจทำให้กาแฟที่บดระเอียดนั้น Over-Extraction หรือสกัดมากจนเกินไปซึ่งส่งผลให้มีรสขมและติดไหม้ จึงต้องระมัดระวัง ทาง Kalita จึงออกแบบใหม่ให้มีจำนวนเป็น 3 รู เพื่อหลีกเลี่ยงการสกัดที่มากเกินไป 

ข้อดี Malitta 

- หาซื้อกระดาษได้ง่าย มีหลากหลายแบรนด์ให้เลือก

ข้อเสีย Malitta

- ปรับรสชาติได้แคบ ลูกเล่นน้อยสำหรับมืออาชีพ

- Flowrate ช้าอาจมีปัญหาน้ำขังนาน

1.3) Kalita ทรงกรวยก้นแบน 3 รู + Kalita Wave

ด้วยลักษณะก้นที่แบนและมีรูเล็ก 3 รู จึงทำให้มีการไหลของน้ำที่นิ่งและไม่ช้าจนเกินไป และเนื่องจากตัว Dripper เองไม่มีเกลียวด้านในช่วยสำหรับการไหลของน้ำกระดาษ Filter ของ Kalita Wave จึงออกแบบมาให้เป็นทรงคลื่น เพื่อช่วยให้การไหลของน้ำดีขึ้น 

ข้อดี Kalita Wave

- ง่ายต่อการควบคุมการไหลของน้ำ

- กระดาษมีความสวยงาม

ข้อเสีย Kalita Wave

- กระดาษไม่ได้มีขายทั่วไป

- ต้นทุนกระดาษสูง

- ด้วยลักษณะคลื่นของกระดาษ Kalita Wave ทำให้อากาศแทรกเข้าไปได้จึงอาจทำให้การควบคุมอุณหภูมิระหว่างการสกัดนั้นเพี้ยนไปตามสภาพอากาศของสถานที่นั้นๆ 

1.4) Chemex วัสดุแก้วเป็นทั้ง Dripper และ Server ในชิ้นเดียว

เป็นวิธีดริปสำหรับผู้ที่ชื่นชอบความสะอาดของรสชาติเนื่องจาก กระดาษกรองของ Chemex นั้นค่อนข้างหนาสามารถซับน้ำมันของกาแฟได้ดี แต่หากผู้ที่ชอบความเต็มของ Body หรือเนื้อสัมผัสที่แน่นก็จะไม่ถูกใจวิธีของ Chemex ซักเท่าไหร่

ข้อดี Chemex

- รสชาติสะอาด Clean

ข้อเสีย Chemex

- กระดาษไม่ได้มีขายทั่วไป

- กระดาษกรองราคาสูง

- เนื่องจาก Chemex ได้ทำร่องเอาไว้สำหรับรินกาแฟจึงอาจมีผลต่อการไหลของน้ำระหว่างที่ทำการสกัด

- Body บางไปสำหรับคนที่ชอบเนื้อสัมผัสหนาๆ

2) วัสดุของ Dripper จะเป็นตัวควบคุมอุณหภูมิระหว่างการสกัด 

2.1 ) พลาสติก เป็นวัสดุที่เป็นที่นิยมในกลุ่ม Home Brewer เนื่องจากมีราคาไม่แพง และหากเป็นพลาสติกคุณภาพดีก็จะทนทานและสามารถควบคุมอุณหภูมิได้ดีเช่นกัน แต่อุณหภูมิภายนอกจะค่อนข้างมีผลต่อการสกัดสำหรับวัสดุประเภทนี้

2.2 ) แก้ว เป็นอีกทางเลือกสำหรับผู้ที่ชื่นชอบความสวยงามและการสกัดที่นิ่งเพราะเป็นวัสดุที่มีการควบคุมความร้อนได้ดีในระดับหนึง และเหมาะสำหรับมือใหม่เพราะสามารถสังเกตุการไหลของน้ำได้ง่ายเพราะเป็นวัสดุโปร่งแสง

2.3 ) เซรามิค เป็นที่นิยมสำหรับมือดริปทั่วโลก เนื่องจากมีรูปลักษณ์ที่สวยงาม และแถมยังรักษาความร้อนได้ดีป้องกันการแปรปวนจากอากาศภายนอกได้ แต่หากเริ่มดริปโดยที่ไม่ได้วอร์ม Dripper ด้วยน้ำร้อนอย่างเพียงพอ(Pre-heat) อาจทำให้การสกัดช้าลงหรือเพี้ยนได้ เนื่องจากเซรามิคที่เย็นจะดูดซับอุณหภูมิจากน้ำร้อนค่อนข้างเยอะนั่นหมายความว่าช่วงแรกที่เริ่มดริป อุณหภูมิจะต่ำลงกว่าที่เราคาดการณ์ไว้ ดังนั้นหากเลือกใช้วัสดุนี้ก็ควรที่จะวอร์ม Dripper ให้ดีเสียก่อน

2.4 ) สแตนเลส และ ทองแดง เป็นวัสดุที่มีการนำความร้อนได้อย่างดีเยี่ยมและร้อนเร็ว แต่ทองแดงจะนำความร้อนและรักษาอุณหูมิได้ดีกว่าสแตนเลสนิดหน่อย โดยหากใช้ Dripper ทั้ง 2 วัสดุนี้มือดริปอาจไม่ต้องใช้เวลาวอร์มที่นานมาก และแถมอุณหภูมิระหว่างดริปก็จะค่อนข้างเสถียร สูง และนิ่ง อีกด้วย แต่สำหรับบางท่านการใช้วัสดุประเภทนี้อาจจะไม่ถูกใจซักเท่าไหร่เพราะจะทำให้การสกัดนั้นเร็ว จึงอาจทำให้หาการสกัดที่เราถูกใจยาก(Perfect Extraction)  และหากสกัดเร็วเกินไป (Short Developing Time) ถึงแม้ความเข้มข้น (TDS) จะอยู่ในช่วงที่ได้แล้วก็ตามแต่สิ่งที่เกิดขึ้นคือ กาแฟที่ได้อาจมีปริมาณของกรดเยอะ(Acidic) และ กลิ่นอาจจะน้อยตามไปด้วย (Less Aromatic Compound) ดังนั้นอาจจะต้องปรับจากปัจจัยอื่นๆแทนเพื่อที่จะชะลอการสกัดให้นานขึ้น เช่น  อุณหภูมิน้ำที่ใช้ หรือ ไซด์ของผงกาแฟที่บด   

3) ขนาด ของ Dripper และเหยือก อาจมีความสัมคัญที่รองจากปัจจัยอื่นๆ

วิธีเลือกคือต้องถามตนเองก่อนว่าจะ Serve ในปริมาณที่เท่าไหร่ และใช้กาแฟปริมาณเท่าไหร่ เพราะไซด์เป็นเพียงการเลือกปริมาณที่เราต้องการสกัดกาแฟเพียงเท่านั้น แต่อย่าลืมว่าต้องเลือกไซด์ของกระดาษให้ตรงกับไซด์ของ Dripper และรูปทรงของกระดาษก็ต้องให้ตรงกับ Dripper ด้วยนะครับ

Dripper Malitta
Dripper Malitta
Dripper Hario V60 Ceramic
Kalitawave.PNG
Kalita01.PNG
Kalita02.PNG
chemex.PNG
bottom of page